พ่อที่กระตือรือร้น


ไบรอัน ฮาร์เบอร์


จาก Famous Parents of the Bible
พ่อของเด็กที่ถูกผีเข้า
มาระโก 9:14-19


ชายหนุ่มคนนหนึ่งที่กำลังเตรียมตัวเป็นศิษยาภิบาลได้ พูดคุยกับศิษยาภิบาลอาวุโสท่านหนึ่ง เกี่ยวกับการท้าทายและโอกาสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต งานรับใช้ด้านหนึ่งซึ่งดึงดูดความสนใจผู้รับใช้หนุ่มก็คือ การประกอบพิธีสมรส ดังนั้นเขาจึงฟังอย่างตั้งใจขณะที่ศิษยาภิบาลผู้มีประสบการณ์เล่าถึงขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียด แล้วเขาสรุปคำอธิบายของเขา โดยการแนะนำว่า “ถ้าคุณลืมว่าจะพูดอะไรให้อ้างพระคัมภีร์ เพราะการอ้างพระคัมภีร์นั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำ”


ต่อมาชายหนุ่มได้รับการสถาปนา และโอกาสแรกในการประกอบพิธีแต่งงานก็มาถึงด้วยความประหม่า เขาซ้อมรายละเอียดในใจ และเดินเข้าไปในโบสถ์ เริ่มพิธีทุกอย่างผ่านไปด้วยดี จนกระทั่งเขาประกาศให้ทั้งสองเป็นสามีภรรยากัน เขาลืมว่าเขาต้องพูดอะไรอีกต่อไป สมองของเขาว่างเปล่า ทันใดนั้นเขาก็นึกถึงคำแนะนำของศิษยาภิบาลอาวุโสได้ว่า ให้อ้างพระคัมภีร์ เขาตัดสินใจที่จะลองทำ โชคไม่ดีข้อพระคัมภีร์ข้อเดียวที่เขาคิดออกและเขาใช้อ้างก็คือ “โอพระบิดาเจ้าข้า ขออภัยเขาเพราะเขาไม่รู้ว่าเขากำลังทำอะไร” (ลก.23:34)


คำอธิษฐานนี้อาจเป็นคำอธิษฐานของหลายๆ ครอบครัวในทุกวันนี้ก็ได้ พ่อแม่หลายคนขาดประสิทธิภาพ และไม่ประสบผลสำเร็จในบทบาทของพ่อแม่ เพราะไม่รู้ว่าเขาทำอะไร ไม่เพียงแต่เราเท่านั้นที่ต้องอธิษฐานว่า “พระองค์เจ้าข้า ขอทรงโปรดอภัยให้ข้าพระองค์ทั้งหลาย” แต่เราต้องอธิษฐานขอให้พระเจ้าช่วยเราให้ทำให้ดีขึ้นด้วย เราต้องไม่เพียงแต่รับรู้ปัญหา แต่ต้องทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อแก้ปัญหานั้นด้วย เราต้องหาแบบอย่างของพ่อแม่ที่ดี และเป็นประโยชน์ที่จะทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจที่จะชี้แนะเราได้
เราจะดูพ่อที่ไม่ได้ระบุชื่อไว้ที่พบกับพระเยซูด้วยท่าทีที่ต่างไปจากคนอื่น ๆ เรื่องราวของการพบปะนี้มีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อยในมาระโกบทที่ 9 มัทธิว 17 ลูกา 9 แม้ว่าเนื้อหาหลักจะอยู่ในมาระโกบทที่ 9 แต่เราจะดึงเนื้อหาจากอีกทั้งสองเล่มด้วย ในที่นี้เราจะเห็นพ่อที่เป็นห่วงเป็นใย นี่คือแบบอย่างของการเป็นพ่อแม่ สำหรับเราวันนี้ ให้เราดูเขาให้ละเอียด


จัดลำดับความสำคัญ เขาเป็นพ่อที่ห่วงใยมาก เพราะเขาให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบของเขาในฐานะพ่อเป็นอันดับแรก เราเห็นสิ่งนี้ได้ในหลาย ๆ ด้านของเรื่องนี้


การที่พ่อคนนี้ท่องไปในชนบทกับลูกชายที่ถูกผีเข้าเพื่อแสวงหาคนช่วยเหลือ ชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจแน่วแน่ในส่วนลึกๆ ที่มีอยู่ในฐานะพ่อ เขาอาจจะทิ้งไว้ให้ภรรยาเป็นคนดูแลก็ได้ เขาอาจจะอ้างข้อแก้ตัวกับภรรยาของเขาเหมือนที่พ่อทั้งหลายในทุกวันนี้พูดกันว่า “ผมจะดูแลงานที่ที่ทำงาน บ้าน และลูกเป็นหน้าที่ และความรับผิดชอบของคุณ” เขาอาจจะเพิกเฉยกับปัญหาหรือเขาอาจตระหนักถึงปัญหา แต่ยอมรับมันว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เขาไม่อาจหลีกเลี่ยงได้


นี่เป็นตัวอย่างการเผชิญหน้าทั่ว ๆ ไปของพ่อทั้งหลายในยุคของเรา แต่คุณพ่อในเรื่องนี้ได้ทำตัวเหมือนคุณพ่อที่วิ่งหนีปัญหาเหล่านั้น ในทางกลับกัน หลังจากที่เขาตระหนักว่าลูกมีปัญหา เขาเดินทางไปทุกหนแห่งเพื่อแสวงหาผู้ทำการอัศจรรย์ ธรรมิกชนของพระเจ้าที่เคร่งครัดจะสามารถทำให้ลูกชายของเขาหายเป็นปกติได้ ความรับผิดชอบอื่น ๆ มาทีหลังความเป็นห่วงเรื่องสุขภาพลูกชายของเขา และนี่คือ พ่อที่ได้ให้ลำดับความสำคัญต่อความรับผิดชอบในครอบครัวเป็นอันดับแรก


คุณพ่อผู้เป็นห่วงลูกท่านนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังในคำพูดของเขาด้วย ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดจากถ้อยคำที่เขาใช้ในลูกาบทที่ 9 เมื่อชายคนนี้มาหาพระเยซูเขากล่าวว่า “อาจารย์เจ้าข้า ขอพระองค์ทรงโปรดดูบุตรของข้าพเจ้า”(ข้อ38) คำว่า ขอเป็นคำที่หนักแน่น เป็นคำที่ใช้ในลูกา 5:12 เมื่อชายคนที่เป็นโรคเรื้อนเห็นพระเยซูและขอให้รักษาเขา ไม่มีสิ่งใดสำคัญกว่าการหายจากโรคเรื้อนของเขา


มันเป็นคำที่ใช้ในกิจการ 21:39 เมื่อเปาโลถูกจับและเกือบจะถูกฆ่าโดยฝูงชนนั้น เขากล่าวว่า “ขอท่านอนุญาตให้พูดกับคนทั้งปวงหน่อย” มันเป็นเรื่องความเป็นความตาย


มันเป็นคำที่ใช้ในกิจการ 26:3 ขณะยืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์อากริปปา เปาโลเห็นเป็นโอกาสอันดีเยี่ยมที่จะเป็นพยานเพื่อพระคริสต์ จึงกล่าวว่า “ขอพระองค์ทรงโปรดทนฟังข้าพระบาท” มันเป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิต


มันเป็นคำที่ใช้ในกาลาเทีย 4:12 ทีเปาโลเห็นงานทั้งหมดที่เขาทำมา กำลังตกอยู่ในอันตราย เนื่องจากอิทธิพลของลัทธิยูดา ซึ่งอาจส่งผลให้พระกิตติคุณผิดเพี้ยนไปจากเดิม เขาจึงกล่าวว่า “พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิงวอนให้ท่านเป็นเหมือนข้าพเจ้า”
ทุกครั้งที่ใช้คำนี้ในพระคัมภีร์ใหม่ มันแสดงถึงความปรารถนาอันแรงกล้า เป้าหมายที่เร่งด่วน ความห่วงใยที่มาเป็นอันดับแรก เหมือนกับที่ใช้อยู่ในเรื่องนี้มันเหมือนกับว่า ชายคนนี้กำลังพูดกับพระเยซูว่า “อาจารย์เจ้าข้า ไม่มีสิ่งใดมีค่าสำหรับข้าพเจ้ามากไปกว่าเรื่องนี้ ไม่มีสิ่งใดสำคัญอีกแล้ว ถ้าข้าพเจ้าไม่สามารถหาความช่วยเหลือได้ในขณะนี้ องค์พระเยซูเจ้าขอทรงโปรดช่วยลูกของข้าพเจ้า” มันเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับแรก


ผมสงสัยว่า คุณจะสามารถพูดถึงความตั้งใจแน่วแน่ในฐานะที่เป็นพ่อเช่นนั้นได้หรือไม่? ในฐานะพ่อแม่ล่ะ? มันเป็นสิ่งที่สำคัญสูงสุดในชีวิตของคุณหรือเปล่า? มันเป็นสิ่งแรกสุดในเป้าหมายส่วนตัวของคุณหรือเปล่า?
การประสบความสำเร็จในชีวิตของลูก มีค่าเท่ากับที่คุณลงทุนในเรื่องหุ้น และพันธบัตรหรือเปล่า? คุณรอคอยเกี่ยวกับการลงทุนในชีวิตของลูกคุณหรือเปล่า? คุณใช้เวลาในการพัฒนาลูกของคุณมากกว่าการเทนนิสหรือเปล่า? การเป็นพ่อแม่ที่ดีจำเป็นสำหรับคุณหรือเปล่า?


หลักอันแรกในการประสบความสำเร็จในการเป็นพ่อแม่ที่แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่ห่วงใยอย่างเห็นได้ชัดก็คือ การให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบของคุณในฐานะพ่อแม่มาเป็นอันดับแรก

ความเข้าใจ
เรายังเห็นอีกสิ่งหนึ่งในเรื่องนี้ ชายคนที่มาพบพระเยซูด้วยท่าทีที่ต่างไปจากคนอื่นนี้รับรู้ปัญหาของลูกชายของเขา ได้อย่างถูกต้อง คุณพ่อคนนี้มีความเข้าใจ


ข้อโต้แย้งมากมายเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่ปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่ รายละเอียดที่แตกต่างกันในมาระโกกล่าวว่าเด็กนี้ถูกผีใบ้เข้าสิง (มก.9:17) ลูกาบันทึกว่า “ผีเข้าสิงเขา” (ลก.9:39) มัทธิวเขียนว่า “เด็กเป็นลมบ้าหมู” (มธ.17:15)
คนที่เจ็บป่วยในพระคัมภีร์ใหม่ถูกวิญญาณชั่วเข้าสิงจริง ๆ หรือ? โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ในกรณีนี้ เด็กชายคนนี้มีปัญหาทางร่างกาย เขาเป็นลมบ้าหมู ซึ่งเขาอธิบายในรูปของฝ่ายวิญญาณว่า วิญญาณชั่วเข้าสิง


สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากให้คุณมองคือ คุณพ่อคนนี้รู้ถึงปัญหาของลูกอย่างถูกต้อง และสามารถอธิบายได้ว่ามีผลต่อลูกชายเขาอย่างไร ด้วยการให้รายละเอียดที่ถูกต้อง เขาไม่ใช่คนที่มองลูกชายของเขาอย่างผ่านๆ เหมือนกับเรอสองลำแล่นสวนกันในเวลากลางคืน แต่เขาเป็นพ่อที่มีความเข้าใจในความต้องการของลูกว่าคืออะไร จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในชีวิตของลูกชาย


องค์ประกอบอันหนึ่งที่ขาดหายไปอย่างชัดเจนในครอบครัวทุกวันนี้ก็คือ ความรู้สึกไวของพ่อแม่ต่อความต้องการ ปัญหา ความปรารถนา ความกดดัน และพัฒนาการของลูก ๆ เราไม่รู้จักลูก ๆ ของเราอย่างแท้จริง วลีที่นิยมมากเมื่อไม่นานนี้กล่าวว่า “ขณะนี้เวลาเที่ยงคืนแล้ว คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่าลูก ๆ ของคุณอยู่ที่ไหน?” ลองตั้งคำถามต่อไปอีก และถามว่า “คุณรู้ไหมว่าลูก ๆ ของคุณมีกภาวะทางอารมณ์อยู่ที่ระดับไหน? คุณรู้ไหมว่าจิตวิญญาณและสติปัญญาของเขาอยู่ในระดับใด คุณรู้ไหมว่าลูกของคุณอยู่ที่ไหน?”


นิตยสารฉบับหนึ่งได้นำจดหมายของเด็กที่หนีออกจากบ้านคนหนึ่งมาตีพิมพ์ พ่อแม่ขอร้องให้กลับบ้าน แต่เขาปฏิเสธ โดยเขียนจดหมายอธิบายถึงเหตุผลของเขา ส่วนหนึ่งในจดหมายกล่าวว่า “จำได้ไหม ตอนที่ผมอายุ 6 หรือ 7 ขวบ ผมเคยต้องการให้พ่อและแม่ฟังผม? ผมจำสิ่งต่าง ๆ ที่ดี ๆ ที่พ่อและแม่ให้ผมในวันคริสตมาส และวันเกิดของผมได้ และผมมีความสุขจริง ๆ กับสิ่งเหล่านั้น (ประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วงที่ผมได้สิ่งเหล่านั้น)


แต่เวลาที่เหลือนอกจากนั้นในระหว่างปี ผมไม่ต้องการของขวัญเลยจริง ๆ ผมเพียงแต่ต้องการให้พ่อแม่ฟังผม เหมือนว่าผมเป็นคนที่มีความรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ ด้วย เพราะผมจำได้ แม้กระทั่งตอนผมเป็นเด็ก ผมก้มีความรู้สึก แต่พ่อและแม่พูดว่าไม่ว่าง
แม่ครับ แม่เป็นแม่ครัวที่ดีเลิศ และแม่ดูแลทุกอย่างได้สะอาดมาก และแม่เหนื่อยมากกับการทำสิ่งเหล่านั้นที่ทำให้แม่ไม่มีเวลาว่าง แต่แม่รู้อะไรไหม ผมคงจะชอบขนมปังกรอบและเนยถั่วพอๆ กับที่แม่จะนั่งลงกับผมสักครู่ในระหว่างวัน และพูดกับผมว่า “บอกแม่ให้หมดทุกอย่าง เผื่อแม่จะสามารถช่วยลูกให้เข้าใจได้”


ถ้ามีใครถามแม่ว่า ผมอยู่ที่ไหน บอกเขาว่าผมไปหาใครบางคนที่มีเวลา เพราะผมมีเรื่องราวมากมายที่ผมอยากพูดให้ฟัง”
พ่อที่ห่วงใยคือพ่อที่ใช้เวลากับลูก ๆ เพื่อฟังและแบ่งปันกับลูกเพื่อเขาจะรู้จริง ๆ ว่าลูก ๆ เป็นใคร นั่นคือความเข้าใจ
วางแผน


เขาเป็นพ่อที่ห่วงใยด้วย เพราะเขาวางแผนที่จะจัดการเกี่ยวกับความต้องการของลูกชายของเขา เขาไม่เพียงแต่คิดถึงความต้องการของลูกเท่านั้น แต่เขาลงมือทดำบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับความต้องการนั้นด้วย


เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้อ่านเรื่องพันธกิจของคริสตจักรกับสมาชิกที่เป็นคนโสด มีวลีหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจผม “คริสตจักรหลายๆ แห่งปฏิบัติต่อคนโสดเหมือนเป็นคริสเตียนชั้น 2” “ไม่ใช่เป็นเพราะเขาตั้งใจ แต่เพราะเขาไม่ได้วางแผนที่จะไม่ทำเช่นนั้น”
ผมขออธิบายข้อความนี้ และประยุกต์ใช้กับครอบครัว พ่อแม่หลายคนทำให้ลูก ๆ เสียใจ ไม่ใช่เป็นเพราะเขาตั้งใจที่จะทำเช่นนั้น แต่เป็นเพราะเขาไม่ได้วางแผนที่จะไม่ให้เป็นเช่นนั้น ลองคิดดู ว่าคุณวางแผนงานแต่ละวันของคุณอย่างละเอียดแค่ไหน และคุณวางแผนบทบาทของคุณในฐานะพ่อแม่บ่อยครั้งแค่ไหน และคุณไม่สนใจที่จะใส่ใจในการดำเนินชีวิตตลอดชีวิตของลูก ๆ แค่ไหน คิดดูว่าคุณวางแผนการลงทุนด้านการเงินของคุณไว้ละเอียดรอบคอบแค่ไหน และคุณอืดอาดแค่ไหนที่คุณจะลงทุนกับลูกของคุณ
เมื่อองค์การนาซ่าวางแผนส่งมนุษย์ไปดสงจันทร์ ส่วนสำคัญของโครงการคือการวางแผนถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้ นั่นคือผู้นำโครงการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ ทุกอย่างที่อาจเกิดความผิดพลาดได้ พวกเขาวิเคราะห์ปัญหาทุก ๆ ปัญหาที่อาจเป็นไปได้ และเตรียมที่จะแก้ปัญหาในแต่ละกรณี คุณวางแผนถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้ เกี่ยวกับลูกของคุณมากน้อยแค่ไหน?


บางคนกล่าวว่า “ชีวิตครอบครัวคือห้องเรียนที่แท้จริง ซึ่งกินเวลาประมาณ 18 ปี เรื่องน่าเศร้าก็คือ พ่อแม่ส่วนมากพยายามสอนบทเรียนนี้โดยไม่มีการวางแผนการสอนเลย


พ่อที่ห่วงใยลูก คือผู้ที่รู้ว่าลูกต้องการอะไร และเขาวางแผนอย่างรอบคอบ และถี่ถ้วนเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น
อุตสาหะพากเพียร


คุณพ่อที่ห่วงใยลูกท่านนี้แสดงให้เราเห็นองค์ประกอบสำคัญในการเป็น พ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งก็คือความอุตสาหะพากเพียร
เราไม่รู้ว่าคุณพ่อคนนี้พาลูกชายไปพบคนอื่นมามากแค่ไหน แต่โปรดสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้ ข้อ 18 กล่าว ว่า ชายคนนี้พาลูกไปหาสาวกของพระเยซูให้รักษา เขาให้หาย แต่สาวกทำไม่ได้ “แล้วคุณพ่อคนนี้ทำอะไร? เขาเลิกล้มหรือเปล่า ? เขาเลิกความพยายามหรือเปล่า? เปล่า คุณพ่อคนนี้รอจนกว่าจะได้พบพระเยซู เขาคงจะไม่เลิกอย่างแน่นอนจนกว่าเขาไม่มีทางเลือกอื่นที่อาจเป็นไปได้


มาร์ค ทเวน มักจะตำหนิตัวเองอยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับการถูกโกงในฐานะนักลงทุน เขาเสียเงินเพื่อสนับสนุนสิ่งประดิษฐ์หลายร้อยอันที่ไม่เคยประสบผลสำเร็จ ในที่สุดหลังจากที่ต้องพบกับความผิดหวังอยู่เรื่อยมา เขาตัดสินใจว่า เขาได้รับบทเรียนแล้ว เขาปฏิเสธนักประดิษฐ์หนุ่มคนต่อไปด้วยการยืนยันเด็ดขาดว่า “ไม่” ชายหนุ่มนั้นชื่อ “อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์” สิ่งประดิษฐ์ของเขาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เรียกว่า “โทรศัพท์”

 

นับเป็นอุทาหารณ์ที่ดีของการเป็นพ่อแม่ เราลงทุนแล้วลงทุนเล่าจนในที่สุด ในภาวะที่หมดกำลังใจอย่างที่สุด เราก็เลิก แต่มันอาจจะเป็นการลงทุนครั้งต่อไปก็ได้ที่จะเกิดผล การลงทุนครั้งต่อไปในเรื่องเวลา ความห่วงใย ความรัก ความเอาใจใส่ หรือการอธิษฐาน ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นไม่ว่าคุณจะทำอะไรในฐานะพ่อแม่ อย่าเลิกล้มเด็ดขาด ความสำเร็จมักจะถูกกำหนดโดยความเต็มใจที่จะอุตสาหะพากเพียร


บทสรุป
เรามีชีวิตอยู่ในยุคที่ครอบครัวต้องเผชิญกับการท้าทายมากมาย กระแสทิศทางอาจถูกเปลี่ยนไป และการท้าทายอาจจะสำเร็จได้เมื่อเรามีพ่อและแม่ คริสเตียน ที่ห่วงใยเพียงพอ ถึงเรื่องความรับผิดชอบของเขาที่จะตัดสินใจว่า
1.เราจะให้ความสำคัญกับบทบาทของเราในฐานะพ่อแม่เป็นอันดับแรก
2.เราจะไวพอต่อความต้องการของลูก ๆ เพื่อจะเข้าใจว่าลูกต้องการอะไร
3.เราจะวางแผนอย่างรอบคอบและอธิษฐานเพื่อคอบสนองความต้องการเหล่านั้น และ
4.เราจะอยู่กับงานนั้นจนกว่าจะสำเร็จ

 



Visitor 110

 อ่านบทความย้อนหลัง