|
อัลเบิร์ท ชไวท์เซอร์

ศบ.
เขาเรียกท่านว่า “คุณหมอนักบุญ” วันนี้ ผมอยากนำประวัติของท่านมาให้ฟัง
อัลเบิร์ท เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม 1875 ที่เมืองไคสบาค ประเทศเยอรมัน แต่ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส คุณพ่อเป็นบาทหลวง เขาจึงเข้าโบสถ์มาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โตในโบสถ์ เรียกได้ว่าเป็นเด็กโบสถ์ ฟังพ่อสอน ร้องเพลง พออายุได้ 5 ขวบ อัลเบิร์ทก็เริ่มฝึกเล่นเปียโน เขาโตขึ้นในครอบครัวที่อบอุ่น อายุ 10 ขวบ พ่อส่งเขาไปพักอาศัยอยู่กับป้า เพื่อเรียนโรงเรียนมัธยมมิวเฮาเซ่น ที่นี่เขาได้เรียนเปียโนกับครูมุนห์ ที่เก่งเปียโนมาก อัลเบิร์ทฟังครูมุนห์ เล่นเปียโนครั้งแรก เขาทึ่งในความไพเราะเพราะพริ้ง มันเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเรียนเปียโนให้เก่งอย่างครูมุนห์ ในปี 1893 ตอนนั้นเขาอายุ 18 ปี อัลเบิร์ท ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย สเทรสเบิร์ก วิชาปรัชญากับศาสนา ช่วงปิดเทอมวันหนึ่ง ในปี 1894 ขณะกลับมาเยี่ยมบ้าน ขณะอธิษฐาน พระเจ้าทรงทำงานในใจของเขา ขณะอ่านพระธรรมมัทธิว 10:8 ถึงพระบัญชาของพระเยซูแก่พวกสาวกว่า “จงรักษาคนป่วยให้หาย คนตายให้ฟื้นขึ้น จงขับผี คนโรคเรื้อนให้หายสะอาด เขาร้องไห้ ถวายตัวกับพระเจ้า

อายุ27 ปี อัลเบิร์ทเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สอนหนังสือในคณะศาสนศาสตร์ อายุ 29 ปี เขาพบหนังสือเล่มหนึ่งของมิชชั่นนารี รายงายว่าทีมมิชชั่นนารีที่ไปทำงานที่ประเทศคองโก ในอัฟริกา ไม่มีหมอสักคนเดียว อัลเบิร์ทเคยเห็นรูปปั้นคนผิวดำ ในสวนสาธารณะที่เมืองโคลมา ใกล้บ้านตั้งแต่เป็นเด็ก เป็นรูปปั้นคนผิวดำ ร่างกายบึกบึน แต่หน้าตาเศร้าหมอง อมทุกข์ วันนั้นอัลเบิร์ทจึงตัดสินใจ ว่าเขาจะใช้ชีวิตเป็นหมอเพื่อช่วยชาวอัฟริกัน

ในปี 1905 เขาสมัครเรียนแพทย์ พร้อมกับนักศึกษารุ่นน้อง ๆ การตัดสินใจเช่นนี้ ทำเอาครู พ่อแม่ เพื่อนฝูง งงไปหมด เพราะเสียดายความก้าวหน้าในฝีไม้ลายมือการเล่นดนตรีของเขา ที่เก่งขึ้นทุกวัน อัลเบิร์ท สามารถเล่นเพลงของ บาทซ์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกได้อย่างดีเยี่ยม เขาใช้เวลาในการเรียนแพทย์อีก 7 ปี คนเราเมื่อมีความตั้งใจทำเพื่อพระเจ้า และช่วยเหลือคนอื่น มันไม่เคยสาย ตอนทำวิทยานิพนธ์วิชาแพทย์ เขาเลือกเขียนเรื่อง The Psychiatric Study of Jesus หลังจากจบวิชาแพทย์ในปี 1911 เขาเริ่มทำงานด้านการแพทย์
ปีถัดมา อัลเบิร์ทพบรัก ได้สมรสกับ เฮเลนเน่ เบรสราว เฮเลนเน่ รู้ว่าพระเจ้าเรียกให้อัลเบิร์ท ไปเป็นมิชชั่นนารี และเป็นหมอที่อัฟริกา เธอจึงเรียนวิชาพยาบาล จบแล้ว ทั้งสองก็สมัครไปเป็นแพทย์ พยาบาล ที่เมือง แลมบาเรนเน่ ในอัฟริกา ใกล้แม่น้ำ โอโกวี ในพื้นที่ของสมาคมมิชชั่นนารี
เดือนมีนาคม 1913 สองสามีภรรยาออกเดินทางไปยังอัฟริกา จากท่าเรือบอร์โด วันที่ 15 เมษายนทั้งสองมาถึงเมือง แลมบารินี ในอัฟริกา คนอัฟริกันรู้ข่าว ก็พากันมาขอการรักษา ครั้งแรกเขาต้องรักษาพยาบาลคนไข้ในที่โล่งแจ้ง ฝนตกก็ต้องพากันหลบฝน ต่อมาอัลเบิร์ท กั้นเป็นโรงตรวจไข้ขนาดเล็ก พอหลบฝนได้ จากนั้นเขาและชาวบ้านก็ช่วยกันทำ โรงพยาบาล มีห้องจ่ายยา ห้องรักษาพยาบาล ห้องพักคนไข้ ทั้งสร้างห้องให้ญาติผู้ป่วยที่มาจากที่ไกลพักแรมได้ด้วย ในช่วง 9 เดือนแรกของการทำงานในโรงพยาบาล ที่คนอัฟริกันพื้นเมืองช่วยกันสร้างขึ้น เขากับภรรยาได้รักษาพยาบาลคนไข้ประมาณ 2,000 คน ชาวบ้านหลายคนเดินทางมาจากที่ไกล หลายร้อยกิโลเมตร คนไข้เป็นโรคร้ายแรงนานาชนิด เช่น บิด มาลาเรีย โรคเรื้อน เนื้องอก บาดทะยัก เนื้อตาย ไส้เลื่อน เป็นต้น บางคนถูกวางยาพิษ ภรรยาช่วยฉีดยาชา ส่วน อัลเบิร์ท ทำงานผ่าตัด โดยใช้มอร์ฟีน และ โคโรฟอร์มเป็นยาชา

เขาผูกพันกับคนไข้อัฟริกันที่ยากจนข้นแค้นมาก ช่วงแรกอัลเบิร์ทไม่สามารถสื่อกับคนไข้ได้ เพราะพูดกันคนละภาษา ต่อมาเขาได้ โยเซฟ หนุ่มอัฟริกันคนหนึ่ง พูดภาษาฝรั่งเศสได้ มาช่วยเป็นล่ามให้ งานของเขาจึงคืบหน้าไปขนาดหนึ่ง
ฤดูร้อน ปี 1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 ระเบิดขึ้น เยอรมันรบกับฝรั่งเศส สงครามแผ่ไปทั่วโลก แลมบารินี เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อัลเบิร์ทเป็นเยอรมันทุกวันหน้าโรงพยาบาลของเขา จึงถูกทหารฝรั่งเศสควบคุมไว้ กักไม่ให้ท่านไปไหน เล่นเอา คนไข้ อัฟริกันก็เข้ามารักษาไข้ไม่ได้

ชาวบ้านจึงลุกฮือขึ้นมาเรียกร้อง สามเดือนต่อมาทหารฝรั่เศสจึงผ่อนปรนอนุญาตให้ชาวบ้านมารักษาไข้ได้ อัลเบิร์ทไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเรื่องการรบราฆ่าฟันกัน เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ “ปรัชญาความรุ่งเรือง” ปี 1917 สองสามีภรรยาถูกส่งตัวกลับฝรั่งเศสในฐานะเชลยศึก ชาวบ้านแห่แหนมาส่งเขามากมาย อัลเบิร์ทสัญญากับผู้คนว่า วันหนึ่งเขาจะต้องกลับมาอีก ทั้งสองถูกกักอยู่ในค่ายกักกัน ของฝรั่งเศส เขาป่วยเป็นโรคโลหิตจางเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์ เรมี ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เพราะพ่อแม่ของอัลเบิร์ทโอนสัญชาติจากเยอรมันเป็นฝรั่งเศส ในปี 1918 เขาจึงการเป็นคนฝรั่งเศสไปโดยปริยาย ปี 1919 เฮเลนเน่ ภรรยาของเขาคลอดลูกสาวให้เขาคนหนึ่ง เขาตั้งชื่อว่า เรห์นา อัลเบิร์ทมีลูกเมื่อท่านมีอายุ 44 ปี
แม้มีคนวิพากษ์วิจารณ์โรงพยาบาลของเขา แต่อัลเบิร์ทก็ไม่สนใจ เพราะเขารู้ดีว่าชาวบ้านต้องการความช่วยเหลือ เขาตระหนักเสมอว่า คนผิวขาวเคยทำร้ายคนผิวดำโดยการจับไปเป็นทาส การช่วยเหลือคนผิวดำจึงช่วยแก้สิ่งร้าย ที่คนผิวขาวในอดีตเคยทำ เมื่อคนไข้มีจำนวนมากขึ้น อัลเบิร์ทจำเป็นต้องขยายโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้คน เพราะเตียงไข้มีไม่พอ ถึงตอนนี้ข่าวเรื่องโรงพยาบาลของเขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีหลายองค์กรในเยอรมัน และฝรั่งเศสชื่นชมในเจตนาของอัลเบิร์ท และภรรยาจึงช่วยเหลือและสนับสนุน เพื่อหาเงินทุน มาซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพิ่มเติม อัลเบิร์ตตระเวนไปเล่นดนตรี การกุศลในที่ต่าง ๆ เขาใช้ความสามารถด้านดนตรี และความสามารถในการสอนหนังสือที่พระเจ้าให้ บรรยาย “เรื่องการพัฒนาความรุ่งโรจน์ “ ตามสถาบันต่าง ๆ ปี 1922 อัลเบิร์ทไปบรรยายที่มหาวิทยาลัย ออกฟอร์ท ทั้งเขียนหนังสือเรื่องจริยธรรมไว้ 2 เล่มด้วย ทำให้เขามีเงินสนับสนุน เพื่อโรงพยาบาลที่อัฟริกามากขึ้น

ถึงวาระที่เขาเดินทางกลับไปยังเมือง แลมบารินี ในอัฟริกา ปี 1924 ภรรยาของเขากลับไปไม่ได้ เพราะสุขภาพของเธอไม่ดี วัยเด็กเฮเลนเน่เคยป่วยเป็นวัณโรค

และช่วงที่เธออยู่ในค่ายกักกันอันหนาวเย็น โรคนี้กลับกำเริบขึ้นมาอีก อัลเบิร์ทตัดสินใจให้ภรรยารักษาตัว และดูแลลูกสาว โดยสร้างบ้านให้เธอ ที่โคนิงฟิลด์ แบลค ฟอเรส ส่วนตัวเขาเดินทางไปอัฟริกา พร้อมกับนักศึกษาหนุ่มคนหนึ่ง ชื่อ โนแอล เลสบี ห้าปีครึ่งที่เขาจากแลบารินีไป โรงพยาบาลของเขารกร้าง ผุพัง เขาและชาวบ้านจึงช่วยกันบูรณะกันขึ้นมาใหม่ ในเวลาแค่ 2 สัปดาห์โรงบาลของเขาก็กลับมีชีวิต ใช้งานได้อีก คราวนี้เขามีอุปกรณ์หลายอย่างมากขึ้น มีโรคบิดระบาดครั้งใหญ่ ทำให้คนผิวดำเสียชีวิตมาก อัลเบิร์ทตัดสินใจ ย้ายโรงพยาบาลไปสร้างขึ้นใหม่ ที่เนินอโดรินาโกห่างจากแม่น้ำโอโกวี ไป 3 กิโลเมตร เพื่อให้มีห้องแยกผู้ป่วย ไม่ให้ปะปนกัน มกราคม 1927 โรงพยาบาลของเขาสำเร็จ ทั้งหมอหนุ่ม ตัวเขา และชาวบ้านช่วยกันอย่างมาก ในปีนั้นเอง อัลเบิร์ทได้กลับไปยุโรป เพื่อเยี่ยมครอบครัว และลูก ทำให้ความสุขสดชื่นกลับคืนมา การกลับมายุโรป เป็นช่วงที่อัลเบิร์ท ระดมทุน โดยการไปบรรยาย และเล่นดนตรี
ปี 1928 เขามีอายุ 53 ปีแล้ว เขาได้รับรางวัล เกอเต ด้านวรรณกรรมของเยอรมัน เป็นรางวัลมีชื่อยุคนั้น เงินรางวัลที่ได้ อัลเบิร์ทใช้สร้างบ้านพัก ที่กันสบาค อันเป็นฐานการทำงานของเขาในยุโรป ช่วงนี้ เขาเดินทางไปไปมามา ระหว่างยุโรปอัฟริกา ปี 1939 ฮิตเลอร์ เรืองอำนาจ สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น ตอนนั้นเขามีอายุ 64 ปี เยอรมันกับฝรั่งเศสรบกันอีก กองทหารเยอรมัน ยึดแลมบารินี ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีคำสั่งจากเยอรมันให้จู่โจมโรงพยาบาลของหมอขไวท์เซอร์ แต่อัศจรรย์ยิ่ง โรงพยาบาลของเขาไม่ถูกลูกระเบิดเลย ปี 1945 สงครามยุติลง ตอนนั้นเขามีอายุ 70 ปีแล้ว อัลเบิร์ทยังทำงานเป็นหมอช่วยรักษาคนไข้เรื่อยมา ปี 1953 เขามีอายุ 78 ปี อัลเบิร์ท ชไวท์เซอร์ ได้รับรางวัลโนแบล ไพรท์ สาขาสันติภาพ ท่านมอบเงินรางวัลครึ่งหนึ่งให้โรงพยาบาลอีกครึ่งหนึ่งให้คนที่ทำงานเพื่อวัฒนธรรม โดยตั้งเป็น “รางวัลชไวท์เซอร์”
ภรรยาของเขาจากไปอยู่กับพระเจ้า เมื่อปี 1957 ตัวเขาทำงานปลายชีวิตต่อไปจนกระทั่งปี 1965 อัลเบิร์ท ชไวท์เซอร์มีอายุ 90 ปีโรงพยาบาลที่เขาสร้างไว้ยังคงอยู่ที่แลมบารินิ
ผมนำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง เรื่องคนคนหนึ่งที่ต่อสู้เพื่อ ช่วยคนตามพระประสงค์ของพระเจ้าจากหนุ่มจนกระทั่งอำลาชีวิตจากโลกนี้ไป ขอพระเจ้าอวยพรครับ
|
|
|